12 วิธีช่วยเสริมพัฒนาการลูก

12 วิธีช่วยเสริมพัฒนาการลูก

1.อายุ 1 เดือน : ใช้เวลาอยู่ใกล้ๆลูก ทำไมต้องใกล้ เพราะว่าทารกแรกเกิดสายตาสั้น มองเห็นภาพชัดที่ระยะไม่เกิน 12 นิ้ว วัยนี้ลูกชอบมองใบหน้าคน ดังนั้นถ้าลูกไม่หลับ ให้เอาหน้าคุณไปใกล้ๆลูก และพูดด้วยว่า “อากูๆ”

2.อายุ 2 เดือน : ช่วยเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กที่มือ และ สายตา โดยจับมือลูกตบแปะ และ ร้องเพลง อีกไม่นานเกิน 2-3 ด. ลูกจะทำเองได้ รวมถึงการทำสีหน้าเลียนแบบได้ด้วย เช่น แลบลิ้น อ้าปากกว้าง ยิ้มยิงฟัน

3.อายุ 3 เดือน : ลูกเริ่มสนใจมือตัวเองมากขึ้น และ ใช้มือปัดป่ายสิ่งของที่อยู่ข้างหน้า ให้เอาของเล่นสีสันสดใสให้ลูกฝึกจับ คอลูกเริ่มแข็งพยายามผงกศีรษะจากพื้น จับลูกนอนเล่นในท่าคว่ำอยู่หน้ากระจกขณะที่ลูกตื่นอยู่ ลูกจะพยายามผงกหัวขึ้นมามองตัวเองในกระจก

4.อายุ 4 เดือน : วัยนี้ลูกจะทำอะไรได้มากขึ้น ไม่ว่า จะการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ด้านการเคลื่อนไหว หรือ ด้านการสื่อความหมาย เช่น ทารกจะส่งเสียงออกมาอย่างมีความสุขเมื่อเห็นของเล่นสีสันสดใส หรือ ร้องไห้อย่างมากเวลาที่คุณเดินจากไป และ ตอนนี้ทารกเริ่มสนุกกับการบ้าจี้เป็นแล้ว

5.อายุ 5 เดือน : ประสาทสัมผัสการมองเห็นและการได้ยินเริ่มทำงานดีมากคล้ายผู้ใหญ่ ลูกเริ่มเปล่งเสียงเลียนแบบการพูดแต่ยังไม่เป็นนคำ ให้พ่อแม่พูดโต้ตอบไปมาเวลาที่ลูกพยายามส่งเสียง อ่านหนังสือนิทาน ชี้ให้ดูรูปภาพพร้อมบอกว่าคืออะไร

6.อายุ 6 เดือน : ลูกเริ่มหัดนั่งและเคลื่อนที่ได้เอง จับให้ลูกนอนคว่ำเล่น แล้วเอาของเล่นมาวางล่อไว้ด้านหน้า จะได้พยายามเคลื่อนที่ไปหาของเล่น ให้เลือกชนิดที่ปลอดภัยเข้าปากได้ไม่อันตรายเป็นพิษ หรือ ติดหลอดลม จัดบ้านให้ปลอดภัย เช่น อุดรูปลั๊กไฟ ระวังพัดลมตั้งพื้น ตู้ลิ้นชัก ขั้นบันไดที่ลูกอาจไปเล่น

7.อายุ 7 เดือน : ลูกเริ่มใช้มือหยิบจับกำของได้ดี อีก 2-3 เดือนจะใช้นิ้วชี้นิ้วโป้งหยิบของชิ้นเล็กๆได้ หาของที่ปลอดภัยให้ลูกฝึกหยิบ เช่น กล้วยสุกหั่นเป็นชิ้นเล็ก แอปเปิ้ลชิ้นเล็กๆนึ่งให้นิ่ม ให้ลูกจับช้อน ถ้วยน้ำพลาสติก

8.อายุ 8 เดือน : กระตุ้นการเรียนรู้เรื่องภาษา ฝึกหยอดของใส่กล่อง สอนเรียกอวัยวะของร่างกาย

9.อายุ 9 เดือน : วัยนี้ชอบเล่นอะไรที่เปิดปิดเหมือนบานพับประตูได้ เช่น หนังสือปกแข็ง ฝาตู้เก็บของ กล่องกระดาษที่มีฝาปิด ลูกชอบนั่งเล่นได้เป็นร้อยครั้ง เป็นการฝึกกล้ามเนื้อตาและกล้ามเนื้อมือทำงานประสานกัน

10.อายุ 10 เดือน : ลูกชอบเล่นหาของที่ซ่อน เป็นการฝึกกล้ามเนื้อการเคลื่อนไหว และ เรียนรู้ว่าวัตถุไม่สูญหายไปไหน ถึงแม้ไม่เห็นก็ตาม เช่น ซ่อนของเล่นไว้ใต้ผ้า แล้วเอามือลูกไปเปิดผ้าเพื่อให้เห็นของเล่น ลูกก็จะทำเลียนแบบได้

11.อายุ 11 เดือน : กระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาโดยการพูดคุยโต้ตอบกับลูกบ่อยๆ บอกลูกว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ ถามลูกบ่อยๆ ทำท่าทางประกอบด้วย จะช่วยให้ลูกเข้าใจมากขึ้น ไม่ใช้ทีวี หรือ ดีวีดี

12.อายุ 12 เดือน : เด็กบางคนพูดเร็ว คลานเร็ว กว่าเด็กอื่นวัยเดียวกัน บางคนทำได้ช้ากว่าคนอื่น แต่ส่วนใหญ่จะทำได้ในที่สุด แต่ถ้าสงสัยว่าลูกอาจมีปัญหาพัฒนาการช้าผิดปกติ ควรให้แพทย์ตรวจดู ดีกว่าเก็บความวิตกกังวลไว้นานเกินไป

12375975_1054078521291118_3418917781743064322_n

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก: FanPage สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ